O23 การจัดการทรัพย์สินของทางราชการ ของบริจาค การจัดเก็บของกลาง และแนวทางการนำไปปฏิบัติ

จำแนกประเภททรัพย์สินของราชการ อาวุธยุทธภัณฑ์ และของบริจาค

การจัดทำบัญชีสิ่งของหลวง จำแนกประเภททรัพย์สินของทางราชการและของบริจาค โดยจัดทำสมุดควบคุมการเบิกจ่ายแยกประเภทกันอย่างชัดเจน

แนวทางควบคุม กำกับ ดูแลรักษา ตรวจนับ ตรวจสอบสภาพการใช้งานทรัพย์สินของราชการและของบริจาค

O23 แนวทางควบคุม กำกับ ดูแล ดูแลรักษา ตรวจนับ ตรวจสอบสภาพการใช้งานทรัพย์สินของราชการ

ตรวจสอบและตรวจนับอาวุธยุทธภัณฑ์ของสถานีตำรวจเพื่อให้มีความพร้อมต่อการใช้งานในภารกิจประจำวัน

พ.ต.อ.สิทธิศักดิ์  พรหมหมื่นไวย ผกก.สภ.พิมาย มอบหมายให้ พ.ต.ท.ประเสริฐ  ฟุ้งพิมาย รอง ผกก.ป.สภ.พิมาย , พ.ต.ท.ประยูร  ศรีอินทร์ สว.อก.สภ.พิมาย, พ.ต.ต.พิทยา  การสร้าง สวป.สภ.พิมาย พร้อมด้วยคณะกรรมการตรวจสอบพัสดุ ฯ เรียกตรวจอาวุธปืน, เครื่องกระสุนปืนของทางราชการที่มีอยู่ในคลัง และที่ได้ทำการเบิก-จ่าย ให้แก่ราชการตำรวจในการปฏิบัติหน้าที่ แล้วรายงานผลการปฏิบัติ ให้ ภ.จว.นครราชสีมา ทราบทุกเดือน

 

กำหนดแนวทางการยืมหรือเบิกจ่ายทรัพย์สินของราชการหรือของบริจาคไปใช้ปฏิบัติงานที่ชัดเจน

การยืมหรือเบิก – จ่ายอาวุธปืน กระสุนปืน และเครื่องประกอบอาวุธปืน

     ดำเนินการออกคำสั่งมาตรการควบคุม การเบิกจ่าย-จ่าย เกี่ยวกับอาวุธปืน กระสุนปืน และเครื่องประกอบอาวุธปืน, คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาเบิก-จ่าย อาวุธปืนของทางราชการ และคำสั่งการปฏิบัติในการเบิกอาวุธปืน-กระสุนปืน สิ่งของหลวงไปใช้ในราชการ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติการยืมหรือเบิก-จ่ายอาวุธปืน กระสุนปืน และเครื่องประกอบอาวุธปืน ของสถานีตำรวจ

จัดทำสมุดควบคุมการเบิก – จ่ายอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน และเครื่องประกอบอาวุธปืน

จัดทำสมุดควบคุมการเบิก – จ่ายรถยนต์, รถจักรยานยนต์ของทางราชการ

จัดทำสมุดควบคุมการเบิก – จ่าย วัสดุสำนักงาน และครุภัณฑ์

จัดทำสมุดควบคุมการเบิก – จ่าย สิ่งของบริจาคและเงินบริจาค

การเผยแพร่เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้เจ้าหน้าที่สามารถใช้ทรัพย์สินของราชการและของบริจาคได้อย่างถูกต้อง

การดำเนินการประชุม เพื่ออบรม ชี้แจง เสริมสร้างความรู้และความเข้าใจให้แก่ข้าราชการตำรวจ สามารถใช้ทรัพย์สินของทางราชการและของบริจาคได้อย่างถูกต้อง

การจัดเก็บของกลาง

     ระเบียบ ตร.ว่าด้วยการเก็บรักษาและจำหน่ายของกลาง พ.ศ.2565

คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานผู้มีหน้าที่เก็บรักษาและดูแลของกลางในคดีอาญา

แนวทางการปฏิบัติ การเก็บรักษาและจำหน่ายของกลาง

การจัดการทรัพย์สินของราชการ(การจัดเก็บของกลาง)

การจัดเก็บสำนวนการสอบสวนคดีอาญาและคดีจราจร

                แนวทางการจัดเก็บสำนวนการสอบสวนคดีอาญาและคดีจราจร ให้หัวหน้างานสอบสวนมีหน้าที่เก็บรักษาไว้ในห้องหรือตู้ที่จัดทำไว้โดยเฉพาะ ให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยและระมัดระวังมิให้สูญหาย จัดการเก็บสำนวนการสอบสวนและสำเนาสำนวนการสอบสวนให้แยกเป็นสัดส่วน ได้แก่

  1. สำนวนการสอบสวนที่อยู่ระหว่างการสอบสวนของพนักงานสอบสวน ให้แยกเก็บตามรายชื่อของพนักงานสอบสวนที่รับผิดชอบการทำสำนวน รวมไว้กับสมุดบันทึกคดีของพนักงานสอบสวน
  2. สำนวนสอบสวนที่พนักงานอัยการไม่รับพิจารณา สำนวนการสอบสวนที่พนักงานอัยการมีคำสั่งงดการสอบสวน และสำเนาสำนวนการสอบสวน ให้แยกเก็บเรียงลำดับตามหมายเลขคดี ปี พ.ศ. และจัดทำสมุดเก็บสำนวนการสอบสวนที่พนักงานอัยการไม่รับพิจารณา (แบบ ส.๕๖-๗๗) สมุดเก็บสำนวนการสอบสวนที่พนักงานอัยการสั่งงดการสอบสวน (แบบ ๕๖-๗๘) สมุดเก็บสำเนาสำนวนการสอบสวน (แบบ ๕๖-๗๙) โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับลำดับ เลขคดี ชื่อผู้กล่าวหา ชื่อผู้ต้องหา ข้อหา ชื่อพนักงานสอบสวน หมายเหตุ
  3. การยืมสำนวนการสอบสวนและสำเนาการสอบสวน ให้หัวหน้างานสอบสวนมีอำนาจอนุญาต เมื่อนำสำนวนการสอบสวนหรือสำเนาสำนวนการสอบสวนออกจากที่เก็บ ให้ผู้ยืมลงลายมือชื่อผู้ยืม วัน เดือน ปี ที่ยืม และวันส่งคืนไว้ในช่องหมายเหตุ

การจัดการทรัพย์สินของราชการ(การจัดเก็บสำนวนคดีอาญาและคดีจราจร) (2)

การรายงานผลการปฏิบัติ

รายงานผลการปฏิบัติประจำเดือน มีนาคม 2567 Click Here >>

รายงานผลการปฏิบัติประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2567 Click Here >>

รายงานผลการปฏิบัติประจำเดือน มกราคม 2567 Click Here >>

รายงานผลการปฏิบัติประจำเดือน ธันวาคม 2566 Click Here >>

รายงานผลการปฏิบัติประจำเดือน พฤศจิกายน 2566 Click Here >>

รายงานผลการปฏิบัติประจำเดือน ตุลาคม 2566 Click Here >>